วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การเรียนครั้งที่ 11


17 มีนาคม 2562

บรรยากาศในห้องเรียน








    สำหรับวันนี้ได้นำความคืบหน้าของงานมาให้อาจารย์ตรวจสอบเพื่อนำไปปรับแก้ในจุดที่บกพร่องและได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ในการปรับตัวกิจกรรมและการใช้ขนาดตัวอักษรที่ยังต้องปรับแก้  จากนั้นก็ปรึกษาและพูดคุยในเรื่องกิจกรรมกันในกลุ่มของตนเอง


ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ไม่เสียงดังรบกวนผู้อื่นในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจทำงานของกลุ่มตนเองดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำนักศึกษาได้ดีมาก

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การเรียนครั้งที่ 10


10 ตุลาคม 2562


บรรยากาศในห้องเรียน









     สำหรับการเรียนวันนี้ นักศึกษานำแบบสอบถาม ตัวอย่างการขอใช้สถานทีี่ มาให้อาจารย์ดูและแนะนำ มีการตรงลงและวางแผนเตรียมวันที่กันไว้ก่อน จากนั้นนักศึกษาก็แยะย้ายทำงานของตัวเอง 

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนดี เข้าตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย

ปรเมินตนเอง : แต่งกานเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การเรียนครั้งที่ 9


03 ตุลาคม 2562
บรรยากาศในห้องเรียน










กลุ่มที่ 1
    งานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมความเข้าใจด้านภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม เล่นกับลูกปลูกภาษา

สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม เล่นกับลูกปลูกภาษา มีพัฒนาการเข้าใจภาษา โดยรวมสูงขึ้น ร้อยละ 53.72 ของความสามารถพื้นฐานเดิม

2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม เล่นกับลูกปลูกภาษา มีความเข้าใจภาษาโดยรวมและจำแนกรายด้าน คือ การใช้คำอย่างมีจุดมุ่งหมายและการใช้ประโยชน์เพื่อสื่อความหมาย สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01


กลุ่มที่ 2
    งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย

-ผู้ปกครองที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีนิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง

-เด็กปฐมวัยใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


กลุ่มที่ 3
    งานวิจัย เรื่อง การศึกษาผลของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย
    
   ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย และเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

กลุ่มที่ 4
    งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

สรุปผลการวิจัย

1.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กอนุบาล ด้านการแปรงฟัน จากพฤติกรรมการไม่ได้ติดตามการดูแลการแปรงฟันของเด็กหรือติดตามอย่างไม่สม่ำเสมอ มาเป็นพฤติกรรมการดูแลการแปรงฟันของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในด้านการแปรงฟัน

2.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กวัยอนุบาล ด้านการรับประทานอาหารมีประโยชน์จากพฤติกรรมปล่อยให้เด็กเลือกซื้ออาหารรับประทานเองตามใจชอบ ซึ่งมักไม่มีคุณค่าของสารอาหาร มาเป็นพฤติกรรมดูแลรับประทานอาหารเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน กำกับดูแลการเลือกซื้อและรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิดรวมทั้งแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 กลุ่มที่ 5
    งานวิจัย เรื่อง การเสริมพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม “สนุกกับลูกรัก”

สรุปผลการวิจัย

-  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุด กิจกรรมลูกรัก ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ  พบว่า...เด็กปฐมวัยหลังได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรัก มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

-  การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลองมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับควรปรับปรุง (     =12.90) และหลังทดลองที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมลูกรักมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี (=30.35) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น(     =17.45) เมื่อพิจารณาผลการทดลองจำแนกรายทักษะพบว่า หลังจากเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเปรียบเทียบการรู้ค่าจำนวน 1-10 และการเรียงลำดับสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
   
การจัดหมวดหมู่ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ระดับความปรับปรุง( =3.50) แต่หลังจากการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี( =7.80)
   
การเปรียบเทียบ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับปรับปรุง( =3.35) แต่หลังจากการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี(     =7.65)
   
ด้านการรู้ค่าจำนวน1-10   เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ระดับความปรับปรุง(   =3.35) แต่หลังจากการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี( =7.55)
   
 การเรียงลำดับ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ระดับความปรับปรุง( =2.70) แต่หลังจากการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี(=7.35)

- หลังจากการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม “สนุกกับลูกรัก” เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทักษะทางพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โยรวมและจำแนกรายทักษะสูงขึ้น
- เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุด กิจกรรมลูกรัก ที่เข้าร่วมโครงการเป็นประจำสม่ำเสมอปรากฏว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะคือ ด้านการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การรู้ค่าจำนวน 1-10 เรียงลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่า เด็กปฐมวัยที่ไม่ได้มีผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ปฐมวัย


ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ


ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังการนำเสนอดี และนำเสนอได้ดีด้วยค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายเพิ่มเติมจากที่นักศึกษานำเสนอทำให้เข้าใจมากขึ้น