วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การเรียนครั้งที่ 3


22 สิงหาคม 2562


บรรยากาศในห้องเรียน







หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
        การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
     กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2544) กล่าวว่า การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองนี้มีหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะสร้างให้ผู้ปกครองมีความรู้ของการเป็นผู้ปกครองและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างเต็มศักยภาพ

สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต


ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
        การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
      การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
      กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2542)  ได้แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแบบผสมผสานเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทยเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. ระดับห้องเรียน
2. ระดับโรงเรียน
3. ระดับชุมชน
4. ระดับมวลชน
สรุปได้ว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมี 2 ส่วนหลัก ๆ คือ การมีส่วนร่วมที่บ้านในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทุก ๆ ด้าน และการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา เช่น การเข้าร่วมประชุมร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการปรึกษา เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการทำงาน เสนอแนวคิดและร่วมตัดสินใจทางการศึกษา

แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
     หลักการและแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง   มีส่วนร่วมนั้น อยู่บนพื้นฐานความคิดของการสร้างความสัมพันธ์อันดี กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ขึ้นอยู่กับทางโรงเรียนจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ครอบครัว เจตคติและความเชื่อของผู้ปกครอง โดยอาจจัดหลายกิจกรรมประกอบกัน ทั้งนี้ทางโรงเรียนต้องชี้แจงให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและจักกิจกรรมให้ตรงตามความต้องการของผู้ปกครอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านความสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมและยึดผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ

บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

      ผู้ปกครองจะต้องรู้บทบาทและหน้าที่ของตน ทั้งในฐานะผู้อบรมเลี้ยงดูเด็ก ให้การศึกษา และส่งเสริมพัฒนาการโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาในลักษณะต่าง ๆ  ที่เหมาะสมกับบริบทของตน บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองจึงควรมีบทบาทในฐานะผู้ร่วมกิจกรรม    ในสถานศึกษา บทบาทในฐานะเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่เด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน และบทบาทในฐานะผู้ช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียน เพื่อการพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
     ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง


คำถามท้ายบท

1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ 1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก

        2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
        3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
        4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
        5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน


2.  ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
ตอบ  กิจกรรมสานสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคยกันในการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น การสนทนา การเยี่ยมเยียน เช่น การประชุมปรึกษาเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน พร้อม ๆ กับการแลกเปลี่ยนความรู้กัน การแก้ปัญหาร่วมกัน 



3. นักศึกษามีแนวคิดอย่างใรในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ  เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน เป็นต้น ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงกับผู้ปกครองได้ง่ายและสะดวกต่อผู้ปกครองที่ไม่มีเวลามาที่โรงเรียน ครูก็ได้เห็นความเป็นอยู่จริงของเด็กด้วย



4.  องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ 1. สร้างเสริมความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก

        2. สร้างเสริมความเข้าใจในบทบาทของผู้ปกครอง และอิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อเด็ก
        3. สร้างเจตคติที่ถูกต้องในการเลี้ยงดูเด็ก
        4. สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองในการดูแลเด็ก
        5. สร้างความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก


ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา จดตามที่อาจารย์อธิบาย

ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียนดี แต่ก็มีเพื่อนที่เข้าเรียนสาย

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเข้าใจพร้อมยกตัวอย่างให้ฟังทำให้นักศึกษาเห็นภาพและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น